** หากมีข้อซักถามเบื้องต้นเกี่ยวกับผลงานที่จะยื่นรับความคุ้มครอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 หรือ เบอร์โทรศัพท์ 0-4320-2733 เบอร์โทรศัพท์มือถือ 08-6451-4455 หรือเบอร์ติดต่อภายใน : คุณธรณ์เทพ ชำนิงาน (42132) คุณธัญชนก ชาติเสนา (42134)
คุณวีรยา สมภาร (50695) คุณเพียงตะวัน โพนทอง (50695)
ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลชีพ เซลล์เพาะเลี้ยง (ตามประกาศฯ มข. ฉบับที่ 145/2564) สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนพันธุ์ฯ จัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลชีพ เซลล์เพาะเลี้ยง และแนบแบบฟอร์มเปิดเผยรายละเอียดการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลชีพ เซลล์เพาะเลี้ยง (เอกสาร 1.1 และ 1.2) ผ่านคณะ โดยเรียนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม (ผ่าน ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย) (ทั้งนี้ท่านไม่ต้องส่งเอกสารตามข้อ 2. มาพร้อมหนังสือแจ้งความประสงค์)
1.1 แจ้งความประสงค์ขึ้นทะเบียนพันธุ์ฯ
1.2 แบบฟอร์มเปิดเผยรายละเอียดการขึ้นทะเบียน
2. ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนพันธุ์ฯ เตรียมข้อมูลการประดิษฐ์ เนื้อหารายละเอียด 2.1- 2.3 มายัง e-mail: ip@kku.ac.th และ torntep@kku.ac.th
2.1 แจ้งความประสงค์ขึ้นทะเบียนพันธุ์ฯ (กรอกรายละเอียดและลงนาม ส่งเป็นไฟล์รูปแบบ Microsoft Word) จำนวน 1 ชุด
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/พนักงาน/ข้าราชการ ของคณะผู้วิจัย/ผู้ปรับปรุงพันธุ์ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) ท่านละ 1 ฉบับ
2.3 เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
– สำเนาวารสาร/สิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
– สำเนาสัญญารับทุนฯ
– สัญญาการใช้ตัวอย่างชีวภาพ (MTA)
3. ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบความถูกต้องของคำขอขึ้นทะเบียนฯ
4. ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาประกาศโฆษณาคำขอขึ้นทะเบียนฯ ดังกล่าวบนเว็บไซต์ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นเวลา 60 วัน (ประกาศโฆษณาคำขอขึ้นทะเบียนฯ)
5. การออกหนังสือขึ้นทะเบียน
5.1 หากประกาศโฆษณาแล้วไม่มีการคัดค้าน ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาจะออกหนังสือขึ้นทะเบียนฯ ให้ผู้ขอ
5.2 หากมีการคัดค้านเกิดขึ้น ศูนย์ฯ จะแจ้งให้ผู้ขอยื่นชี้แจงภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ขอได้รับหนังสือรายละเอียดการคัดค้านดังกล่าว หากไม่ชี้แจงกลับมาในเวลาที่กำหนดถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอขึ้นทะเบียนดังกล่าวสำหรับเอกสารชี้แจงที่ยื่นมาจะถูกส่งต่อไปให้รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยเป็นผู้พิจารณา/ อาจมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาการคัดค้านดังกล่าว ก่อนเสนอให้อธิการบดีตัดสินต่อไป