มข. ร่วมพิธีเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน ..2564 .ธิดารัตน์  บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 โดยมี .(พิเศษดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และปาฐกถาพิเศษกล่าว เรื่อง “นโยบายการผลักดันนวัตกรรมจากสถาบันอุดมศึกษาสู่ภาคเอกชน” นอกจากนั้นภายในงานดังกล่าวยังมีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “นโยบายการสนับสนุน การสร้างและพัฒนา Ecosystem ของ กระทรวง อว. ” จาก .ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีนักทรัพย์สินทางปัญญา แขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว  ห้องดอยหลวง โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

.(พิเศษดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(รมว.อว.) กล่าวว่า นักทรัพย์สินทางปัญญาเป็นวิชาชีพที่นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ที่จากทุกส่วนมาระดมสมองกันในการขับเคลื่อนการทำงานและต่อยอดการพัฒนางานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบกับร่วมกำหนดแนวทางการสร้างเครือข่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม การได้มาเป็นประธานในการสัมมนาแลกเปลี่ยนสร้างเครือข่ายเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้มีโอกาสได้มาพบหน้าพวกเราซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติและอยู่ในช่วงวัยสำคัญที่จะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศไทย กระทรวง อวเป็นกระทรวงที่มีหน้างานและงานที่หลากหลายมาก ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย งานด้านอุดมศึกษา ด้านนวัตกรรม จุดมุ่งหมายที่สำคัญของกระทรวง คือ การนำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในสิ้นปี 2580 สิ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงกระทรวง อวไม่ใช่เพียงกระทรวงที่สอนหนังสือ ทำวิจัยและทำกิจกรรมเท่านั้น แต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติการปฏิบัติที่ดีที่สุดคือ ทุกคนต้องเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศของเราเริ่มเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทุกๆหน่วยงาน ผม ให้นโยบายว่า เราจะทำให้หน่วยงานของเราภายใต้ อวใน 10 ปีข้างหน้า เดินไปในรูปแบบไหนเพื่อให้ประเทศไทยเริ่มขยับเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลายควรรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ความสำคัญของชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน การเป็นผู้นำทางด้านความคิด

.(พิเศษดร.เอนก รมว.อว.กล่าวต่อไปว่า พวกเรา นักทรัพย์สินทางปัญญา เป็นคนสำคัญจะพาให้หน้าของวิทยาศาสตร์เข้าสู่บทใหม่ หรือ อว. New Chapter ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่มากขึ้นเราเพิ่งจะได้ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2564  กฎหมายที่สำคัญนำไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลาง การพัฒนาประเทศของเราเดิมพัฒนาจากแรงงานราคาถูก วัตถุดิบราคาถูก ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มาจากผลผลิตที่ราคาถูก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เป็นต้น ปัจจุบันการพัฒนาประเทศของเราบวกกับการท่องเที่ยวเชิงปริมาณ ก็ทำให้ประเทศไทยขยับจากประเทศที่ยากจน เข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา และปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ภารกิจของเราหลังจากนี้ คือ จะต้องทำให้ประเทศไทยขยับขึ้นไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วใหัได้ภายในปี 2580 อวก็เช่นกัน จะต้องเป็น อวที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปีข้างหน้า

งานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็น New Chapter ของ อวซึ่งไม่ใช่การพัฒนาด้านทั่วไปหรือด้านเดิมๆ อีกต่อไป กระทรวง อวเน้นการพัฒนา 2 ทาง คือ การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เราจะพาคนไทยเดินสองขาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้จนได้ วันนี้เป็นวันที่สำคัญมากผมอยากให้ทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ดึงเอาศักยภาพ องค์ความรู้ นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนและเกิดการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เกิดการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้” รมว.อวกล่าว

ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล

ศาสตราจารย์ ดรศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ในนามของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาคาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระผมรู้สึกขอบคุณและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือช่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในครั้งนี้ สำหรับการดำเนินโครงการเครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทชและสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัดกรรม (สป.อว.) โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าวในการนำนโยบายของกระทรวง อวที่มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาศักยภาพคนในระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี ไปสร้างสรรค์นวัตกรรม และผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม .. 2564 ที่ต้องการให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมจำเป็นต้องอาศัยการจัดการและกระบวนการที่ชัดเจน โดยเฉพาะการมีผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร่วมมือกันทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการมีเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกัน จะทำให้สถาบันอุดมศึกษาเกิดการขับเคลื่อนการทำงานเชิงรุกในการนำเทคในโลยีและนวัตกรรมไปใช้สำหรับการพัฒนาประเทศได้ในทุกมิติ

ข่าว : นายปวีณ ควรแย้ม
ถ่ายภาพ : นายสกล นุ่นงาม